การรมยาฆ่าเชื้อไม้เพื่อการส่งออก Fumi...
Fumigation คือ ?
การรมยาวัสดุบรรจุภัณฑ์จากไม้ เช่น ลังไม้ทึบ , แผ่นไม้รองรับสินค้า , กล่องไม้ , ถังไม้ , ลังไม้โปร่ง ,
ไม้รองมุมกันกระแทก , ไม้รองลาก , ไม้กันกระแทก เป็นต้น
เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชที่คาดว่าจะมีโอกาสติดไปกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เหล่านี้
การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่จะต้องทำการ Packing เพื่อให้สินค้าปลอดภัย สะดวกในการขนส่งหรือเคลื่อนย้าย
จึงมีการใช้วัสดุไม้เป็นวัสดุในการบรรจุภัณฑ์เพราะว่า เป็นวัสดุที่ หาง่าย ราคาไม่แพง และนำกลับมาใช้ใหม่ได้
แต่มีข้อเสียคือ อาจเป็นแหล่งที่อยู่ของแมลงศัตรูพืช ดังนั้นการขนส่งไปประเทศต่างๆ จึงเป็นการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืช
จากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งได้ คณะทำงานภายใต้อนุสัญญา สำหรับการอารักขาพืชระหว่างประเทศ หรือ ISPM
(International Standards for Phytosanitary Measures) จึงได้จัดทำมาตรฐานมาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศขึ้น
นั้นคือ International Plant Protection Convention (IPPC) หรือ อนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ
ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมภาคีอนุสัญญา IPPC นี้ด้วย ดังนั้นเพื่อควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศให้ปราศจากศัตรูพืช
และเป็นมาตรฐานสากล จึงกำหนดให้ต้องได้รับการกำจัดแมลงศัตรูพืชก่อนการส่งออก ด้วยการรมยา (Fumigation)
IPPC : เป็นกฎบัตรที่ออกมาเพื่อใช้ควบคุมและคุ้มครองป่าไม้และพืชไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการขนส่งระหว่างประเทศ
ซึ่งอาจนำผลกระทบมาสู่ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทาง
ISPM15 : คือส่วนหนึ่งของ IPPC ที่กำหนดมาตรฐานสุขอนามัยของพืชโดยมีวัตถุประสงค์ในการลดความเสี่ยง ในการแพร่กระจายของ
แมลงที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจติดมากับบรรจุภัณฑ์ประเภทไม้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งที่เป็นไม้เนื้ออ่อน และไม้ชนิดอื่น ๆ
แมลงดังกล่าวโดยเฉพาะ pinewood nematode (พบในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา เม็กซิโกและญี่ปุ่น
ซึ่งในประเทศเหล่านี้ไม่มีผู้ล่าตามระบบนิเวศน์) และแมลง Asian long horned beetle (พบในประเทศจีนและในอีกหลายประเทศ
ซึ่งแมลงชนิดนี้กำลังเป็นภัยคุกคามป่าไม้ในประเทศสหรัฐอเมริกา)
ทำไมต้องบังคับใช้?
ใครเป็นผู้ออกมาตรฐาน?
เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อไร?
ทำอย่างไรให้ผ่านมาตรฐาน?
หมายเหตุ: มาตรฐานตาม ISPM15 บังคับใช้กับไม้ทุกชนิด ในขณะที่บางมาตรฐานจะบังคับใช้กับไม้เนื้ออ่อน เท่านั้น
ข้อกำหนดระหว่างประเทศคืออะไร
สำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ (เช่น พาเลทไม้ ลังไม้โปร่ง ลังไม้ทึบ ไม้แปรรูป เป็นต้น) ในหลายๆประเทศทางทวีปยุโรป เอเชีย อเมริกา
และออสเตรเลีย ได้ออกกฎข้อบังคับสำหรับวัสุดใดๆก็ตามที่ทำจากไม้ต้องได้รับการผ่านกรรมวิธี การฆ่าเชื้อโรค
หรือ การรมยาด้วยสารเคมีที่ชื่อเมทิลโบรไมด์
พร้อมกับต้องประทับตราสัญญลักษณ์ IPPC (International Plant Protection Convention) ลงบนเนื้อไม้ด้วย
กรรมวิธีการฆ่าเชื้อโรคนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
ในกรณีวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อ และประทับตราสัญลักษณ์ IPPC เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ ท่าเรือปลายทางอาจมีคำสั่งให้ส่งสินค้าคืนทั้งตู้กลับไปยังประเทศต้นทาง หรือถ้าวัสดุบรรจุภัณฑ์นั้นไม่ได้รับการประทับตราสัญญลักษณ์ IPPC สินค้าเหล่านั้นก้ออาจจะต้องถูกส่งกลับคืนเช่นกัน?วัสดุบรรจุภัณฑ์จะตัองมี ตราสัญญลักษณ์ IPPC ประทับไว้ ซี่ง อักษรสองตัวแรกจะเป็นตัวย่อของประเทศที่ได้ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อ เครื่องหมายจะประกอบไปด้วย หมายเลขทะเบียนที่ได้รับการรับรองจากประเทศที่ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อ ที่ออกให้กับบริษัทที่รับผิดชอบในการจัดการฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม สำหรับตัวย่อ HT หมายถึงการผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน หรือ MB หมายถึงการผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี เมทิลโบร์ไมด์ ทั้งนี้ถ้าได้มีการประทับตราสัญญลักษณ์แล้ว สำหรับบางประเทศ ก็อาจจะไม่ต้องใช้ใบประกาศนียบัตรรับรองก็ได้
กรุณาดูตัวอย่างของตราสัญลักษณ์ทางด้านล่าง
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า C/O รูปแบบต่างๆ มีทั้งสามารถและไม่สามารถใช้สิทธิลดภาษีได้แต่จำเป็นต้องออกเอกสารรับรอง
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า C/O รูปแบบต่างๆ มีทั้งสามารถและไม่สามารถใช้สิทธิลดภาษีได้แต่จำเป็นต้องออกเอกสารรับรอง
(Certificate of Origin : CO) คือ เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามที่ระบุไว้ในแต่ละความตกลงของประเทศสมาชิกภาคีผู้ส่งออก(ผู้ผลิต) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการได้ถิ่นกำเนิดของสินค้าที่ส่งมาจากประเทศสมาชิกภาคีผู้ส่งออก(ผู้ผลิต) ซึ่งจะนำมาใช้เป็นหลักฐานเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในประเทศสมาชิกภาคีผู้นำเข้า
Country of Origin (แหล่งกำเนิดสินค้า)
ในสถานการณ์การค้าโลกในยุคปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก บรรยากาศการค้ามีแนวโน้มไปสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้น ภาวการณ์แข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ประเทศต่าง ๆ ได้ปรับปรุงรูปแบบทางการค้าและใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาปกป้องผลประโยชน์ของตน เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และการอุดหนุน ปัญหาการค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นมากมาย การพิสูจน์ความรับผิดชอบ หรือการหาข้อยุติข้อพิพาททางการค้า จึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ และเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยบ่งชี้ผู้รับผิดชอบ คือ "หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า" (Certificate of Origin) เนื่องจากเป็นหนังสือรับรองฯ ที่แสดงว่า สินค้านั้น ๆ มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศใด นอกจากนี้หนังสือรับรองแหล่งกำเนิด ยังมีประโยชน์ในการขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร จากประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษรวม ทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาดการค้า และสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ ผลิตถูกต้องตามกฏว่าด้วย แหล่งกำเนิดสินค้าและตามเงื่อนไขภายใต้ระบบสิทธิพิเศษของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ ซึ่งจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้าของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ ได้แก่
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบเอ (Certificate of Origin Form A)
เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้า สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ GSP ได้แก่ สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น นอรเวย์ สวิตเซอร์แลนด์ บัลแกเรีย โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สาธารณรัฐสโลวัค และสหพันธรัฐรัสเซีย
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบดี (Certificate of Origin Form D)
เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลง ว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษ ที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff : CEPT) สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ จี.เอส.ที.พี (Certificate of Origin Form GSTP)
เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษ ภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Global System of Trade Preferences : GSTP) ได้แก่ แอลจีเรีย อังโกลา อาร์เจนตินา บังกลาเทศ เบนิน โบลิเวีย บราซิล แคเมอรูน ชิลี โคลัมเบีย คิวบา สาธารณัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เอกวาดอร์ อิยิปต์ กานา กีเนีย กายอานา ไฮติ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ลิเบีย มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อคโค โมซัมบิค นิการากัว ไนจีเรีย ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ การ์ตา สาธารณรัฐเกาหลี โรมาเนีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย ประเทศไทย ตรินิแดดและโตเบโก ตูนิเซีย อุรุกวัย เวเนซูเอล่า เวียดนาม ยูโกสลาเวีย ซาอีร์ และซิมบับเว
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Products)
เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก สำหรับสินค้าหัตถกรรมตามรายการที่กำหนดไว้ในระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ (Certificate Relating to Silk or Cotton Handloom Products)
เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่ทอด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ มีแหล่งกำเนิดจากประเทศ ผู้ออกหนังสือรับรองฯ จริงและใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเข้าตามระเบียบการนำเข้าของประเทศปลายทางหรือตามเงื่อนไขของผู้นำเข้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร ได้แก่ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าทั่วไป (Certificate of Origin : Form C/O ทั่วไป)
สหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะกำหนดให้สินค้าอุตสาหกรรมที่นำเข้าต้องติดป้าย "made in" โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า และเซรามิค เนื่องจากปัจจุบันสหภาพยุโรปไม่มีกฎหมายที่กำหนดให้ระบุแหล่งกำเนิดสินค้า (origin marking) สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้นประเทศสมาชิกบางประเทศได้มีการบังคับใช้มาตรการการดังกล่าว แต่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และอาจมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในด้วยหากมีการปลอมแปลงแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศที่สาม ทั้งนี้สหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการจัดทำกฎระเบียบ โดยจะมีการกำหนดคำนิยามของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งคาดว่าจะอ้างอิงจากกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ต้องมีการจัดทำข้อกำหนดในการอ้างสิทธิแหล่งกำเนิดสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบ การควบคุมและการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ป้ายระบุแหล่งกำเนิดสินค้าด้วย ทั้งนี้ข้อความที่ใช้คาดว่าจะใช้คำ "made in" หรือภาษาทางการของประเทศสมาชิกที่ผู้บริโภคจะเข้าใจได้ง่าย
ขณะนี้ยังไม่มีข้อบังคับในการบ่งชี้ถึงประเทศที่ผลิตสินค้าในฉลาก ตัวอย่างเช่น "Made in Thailand" แต่อย่างไรก็ดี ในบางประเทศเริ่มมีความสนใจในเรื่องกฎของแหล่งกำเนิดสินค้า หรือหากสินค้าไม่ได้ผลิตในสหภาพยุโรปจะต้องมีฉลากระบุ "import" บ่งชี้ด้วย
เราเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จากประเทศจีนมาไทย ทางเครื่องบิน เรือ และรถบรรทุก จากแหล่งสินค้าสำคัญในจีน กวางโจว เซิ่นเจิ้น อีอู ซางไห่ หนิงโบ เทียนจิน ชิงเต่า เซี่ยเหมิน โฟซาน เป็นต้น
เราเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จากประเทศจีน-ไทย เพื่อรองรับ ที่ทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมาจำหน่ายหรือสั่งผลิตสินค้ากับทาง โรงงานจีนเพื่อมาเป็นวัตถุดิบก็ตาม ทางเราจะแนะนำวิธีการขนส่งที่ เหมาะสมและประหยัดกับลูกค้าของเรามากที่สุด จากประสบการณ์การทำ ขนส่งมายาวนาน 7 ปี ทางลูกค้ามั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะทาง เรือ รถบรรทุก หรือ เครื่องบิน ท่านจะได้รับสินค้าครบถ้วนและปลอดภัย
การขนส่ง จีน-ไทย มี 2 ประเภท ดังนี้
ทางเรา มีบริการขนส่งแบบเหมาภาษี ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า เนื่องจากปกติแล้วการนำเข้าสินค้าจะต้องนำเข้าในนามบุคคลหรือบริษัทของลูกค้าเอง ในครั้งแรกจะต้องมีการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์กับศุลกากร เพื่อดำเนินพิธิการ paperless ตามที่กรมศุลกากรประเทศไทยเป็นผู้กำหนด และเมื่อสินค้าถึงปลายทางประเทศไทยแล้ว ศุลกากรจะพิจารณาภาษีนำเข้าจากชนิดสินค้าตามพิกัดที่ระบุไว้ (ตาม HS CODE) ซึ่งในบางครั้งดุลพินิจของศุลกากรจะมีความไม่แน่นอน อาทิเช่น วัสดุที่ทำ หรือ สเปคสินค้าไม่ตรงตามพิกัดที่เราระบุมา หรือแม้แต่ราคาประเมินและประวัติของผู้นำเข้ารายอื่นมีราคาที่สูงกว่าเรา ทำให้ทางศุลกากรอาจจะพิจารณาให้เราเสียค่าปรับ หรือ เสียภาษีในพิกัดที่เราไม่ได้คาดการณ์ไว้ ทั้งหมดนี้ทำให้ทางลูกค้าประเมินต้นทุนสินค้าคลาดเคลื่อนได้
ส่วนมากทางเจ้าสัว จึงแนะนำบริการนี้ ให้กับผู้นำเข้ารายย่อย หรือนำเข้าแต่ละครั้งในปริมาณไม่มากนัก เพื่อความรวดเร็วและลดความยุ่งยาก และยังสามารถควบคุมต้นทุนได้อีกด้วย
แต่ในกรณีนี้ อาจจะไม่เหมาะกับ ผู้นำเข้าที่ต้องการ ใบเสร็จจากศุลกากร แบบถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากการนำเข้าแบบเหมา ทางเรานำเข้าไนนามของเราทั้งหมดซึ่งไม่สามารถออกใบเสร็จจากศุลกากรในนามของลูกค้าได้ค่ะ
ทางเรา มีบริการขนส่งแบบแยกภาษีตามใบเสร็จศุลกากร เหมาะสำหรับผู้นำเข้าที่ต้องการนำเข้าปริมาณมาก เต็มตู้คอนเทนเนอร์ และนำเข้าในนามบริษัท มีใบเสร็จจากศุลกากรถูกต้อง
ในครั้งแรกจะต้องมีการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์กับศุลกากร เพื่อดำเนินพิธิการ paperless ตามที่กรมศุลกากรประเทศไทยเป็นผู้กำหนด และเมื่อสินค้าถึงปลายทางประเทศไทยแล้ว ศุลกากรจะพิจารณาภาษีนำเข้าจากชนิดสินค้าตามพิกัดที่ระบุไว้ (ตาม HS CODE) ซึ่งภาษีจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศุลกากรอีกที โดยพิจารณาจาก อาทิเช่น วัสดุที่ทำ สเปคสินค้า ราคาประเมินและประวัติของผู้นำเข้ารายอื่น
ขั้นตอนการขนส่ง
1.ผู้นำเข้าเช็คราคาสินค้าและภาษีตาม HS CODE เพื่อให้แน่ใจก่อนนำเข้าสินค้าจริง
2.ลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์กับศุลกากร เพื่อดำเนินพิธิการ paperless ตามที่กรมศุลกากรประเทศไทยเป็นผู้กำหนด (ทางเจ้าสังรับดำเนินการให้)
3.ตรวจเอกสาร B/L , InVoice & Packing List, เอกสารพิเศษ (ถ้ามี)
4.ดำเนินการขนส่งสินค้า
5. เคลียร์สินค้าขาเข้าและชำระภาษี
6.นำส่งถึงมือผู้นำเข้า
มีลูกค้าทาง Inno Cargo สงสัยเป็นจำนวนมากว่าต้องจ่ายภาษีนำเข้าเท่าไหร่ อย่างไร ยิ่งเรื่องจำเป็นมากที่จะต้องพิจารณาผลกระทบของภาษีนำเข้า นอกเหนือจากค่าจัดส่งสินค้าข้ามประเทศ
ภาษีนำเข้า ที่จัดส่งข้ามประเทศเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้บังคับแห่งการกำหนดภาษีอากรที่เรียกเก็บโดยรัฐบาลของประเทศปลายทาง เพื่อสร้างรายได้, ป้องกันอุตสาหกรรมประจำท้องถิ่นจากการแข่งขันกับต่างชาติหรือทั้งสองประการ
โดยทั่วไปต้องจ่ายภาษีอากรก่อนนำสินค้าออกจากศุลกากร ค่าภาษีอากรในการจัดส่งสินค้าอาจขึ้นอยู่:
• มูลค่าสินค้า
• ข้อตกลงทางการค้า
• ประเทศผู้ผลิต
• ประโยชน์ของสินค้า
• รหัสฮาร์โมไนซ์ (HS)ของสินค้า
เจ้าหน้าที่ศุลกากรปลายทางจะพิจารณากำหนดภาษีนำเข้าตามมูลค่าที่ระบุและคำอธิบายสินค้าที่ให้ไว้ในเอกสารรายการสินค้า ( Perfoma Invoice) ที่จัดส่งมาจากต้นทาง เพื่อเรียกเก็บกับผู้รับสินค้าที่ปลายทาง
ดังนั้นทางผู้ส่งออกต้องให้ความสำคัญมากกับชนิดสินค้าและมูลค่าที่ลงใน Perfoma Invoice เนื่องจากส่งผลกระทบโดยตรงกับภาษีนำเข้าที่ปลายทางค่ะ
การแพ็คสินค้าใส่พาเลท
1. วางพัสดุซ้อนกัน
การวางซ้อนกันจะทำให้มีความแข็งแรงมากที่สุด หากพัสดุเป็นของแข็ง คุณสามารถวางซ้อน ‘ใน รูปแบบการก่ออิฐ’ เพื่อเพิ่มความมั่นคง
2. ห้ามวางพัสดุยื่นออกมา
สินค้าควรจะมีขนาดพอดีกับพาเลทโดยไม่มีส่วนใดยื่นออกมาเกินขอบ ถึงแม้ว่าเราจะยอมรับให้มีส่วนที่ยื่นออกนอกพาเลทได้ แต่จะเป็นการดีหากสินค้ามีขนาดพอดีกับพาเลทเนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย
3. พยายามวางให้ได้ระนาบ
พื้นผิวด้านบนที่ได้ระนาบจะมีความแข็งแรง กะทัดรัด วางซ้อนกันได้ พาเลทที่ไม่สามารถวางซ้อนได้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
4. รัดหรือห่อพัสดุ
รัดหรือห่อพัสดุให้เข้าที่บนพาเลทด้วยสายรัดและ/หรือวัสดุห่อ การห่อควรรวมถึงพาเลทด้วย
การแพ็คสินค้าให้ปลอดภัย
หากสินค้าเป็นสินค้าที่แตกหักง่าย ทางบริษัทแนะนำให้ลูกค้าเลือกการแพ็คสินค้าเป็นลังไม้ โดย จะมี 2 แบบ คือ ลังไม้ทึบ และ ลังไม้โปร่ง
ลังไม้ทึบ
ลังไม้ทึบ โดยทั่วไปจะใช้แพ็คสินค้าที่ต้องการให้ความปลอดภัยสูงสุดจากความเสียหายในกระบวนจัดการขนส่ง นอกจากนั้นลังไม้ทึบยังใช้ในการบรรจุสินค้าขนาดเล็กไว้ด้วยกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญหาย
ลังไม้แบบโปร่ง
ลังไม้แบบโปร่ง เหมาะสำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบรรจุภัณฑ์ ลังโปร่งจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับท่าน
การแพ็คสินค้าที่เหมาะสม และได้มาตรฐานการขนส่งระหว่างประเทศลูกค้าไว้ใจเรา
|
|